สรุปสถาบันการเงินคืออะไร ประเภทของสถาบันการเงินมีอะไรบ้าง
แม้ว่าปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่จะนิยมทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารเป็นหลัก แต่เชื่อว่าหลายคนในที่นี้ที่อยู่ในแวดวงการเงินก็คงจะรู้จักหรือคุ้นเคยกับสถาบันการเงินมาบ้าง แต่สำหรับใครที่เคยได้ยินเกี่ยวกับสถาบันการเงินแต่ไม่รู้ว่าสถาบันการเงินคืออะไรหรือหน้าที่ของสถาบันการเงินมีอะไรบ้างก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เราจะพาคุณมาทำความรู้จักไปพร้อมกัน สถาบันการเงิน คือหนึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินและมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก โดยหน้าที่ของสถาบันการเงินทั่วไปแล้วจะทำหน้าที่ในการระดมเงินทุน จัดสรรและบริการความเสี่ยงทางด้านการเงินและเศรษฐกิจด้วยความโปร่งใสและเที่ยงธรรมภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 นั่นเอง แม้ว่าปัจจุบันหน่วยงานหลายแห่งจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับสถาบันการเงินอยู่บ่อยครั้ง แต่เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยก็ยังคงสับสนว่าสถาบันการเงินมีกี่ประเภทและแต่ประเภทมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร หากจะพูดถึงการแบ่งประเภทของสถาบันการเงินทุกวันนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทสถาบันการเงินได้แก่ สถาบันการเงินประเภทธนาคาร เช่น แบงค์กสิกร และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารนั่นเอง ถึงแม้สถาบันการเงินทั้ง 2 ประเภทจะมีรูปแบบและจุดเด่นของการให้บริการทางการเงินที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่สถาบันการเงินธนาคารและไม่ใช่ธนาคารมีเหมือนกันนั่นก็คือการสนับสนุนให้ผู้คนเล็งเห็นความสำคัญของการออมเงินเพื่อเป็นหลักประกันในอนาคตนั่นเอง
ทำความรู้จักสถาบันการเงินประเภทธนาคาร
เมื่อจะพูดถึงสถาบันการเงินประเภทธนาคาร แน่นอนว่าหลายคนก็คงจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี ธนาคารถือเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินรูปแบบหนึ่งที่เราสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทหลักนั่นก็คือธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์นั่นเอง โดยธนาคารกลางจะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานใหญ่ๆเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นการออกธนบัตร รับฝากเงินจากหน่วยงานราชการ รักษาสเถียรภาพทางการเงินรวมถึงการกำกับดูแล กำหนดข้อบังคับและรับฝากเงินจากธนาคารพาณิชย์เป็นต้น ถัดมาในส่วนของสถาบันการเงินประเภทธนาคารพาณิชย์จะทำหน้าที่ในการบริการทางการเงินกับบุคลทั่วไป บริษัททห้างร้านหรือหน่วยงานที่มีขนาดย่อยลงมาไม่ว่าจะเป็นการให้บริการธุรกรรมทางการเงินเบื้องต้นอย่างการฝาก ถอน โอนเงิน รับจ่ายบิลและบริการสินเชื่อภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลางหรือธาคารแห่งประเภทไทยนั่นเอง นอกเหนือจากนี้สถาบันการเงินธนาคารยังมีรูปแบบของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทางภาครัฐจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนช่วยเหลือประชาชนอย่างเช่น ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และธนาคารอิสลามเป็นต้น
สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารมีความแตกต่างอย่างไร
ในส่วนของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารทุกวันนี้มีค่อนข้างหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น บรรษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ กองทุนรวม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทประกันภัย โรงรับจำนำ สหกรณ์และเครดิตยูเนียนเป็นต้น โดยการให้บริการของสถาบันการเงินเหล่านี้จะมีรูปแบบการให้บริการทางการเงินที่แตกต่างกันอย่างเช่น โรงรับจำนำจะเป็นสถาบันการเงินที่สามารถพบเจอได้ตามแหล่งชุมชนที่จะสนับสนุนเงินทุนให้แก่ผู้ใช้บริการโดยการที่คุณจะต้องนำสิ่งของมีค่าไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอกู้ยืมเงินและจ่ายดอกเบี้ยรายเดือนจนกว่าคุณจะคืนเงินทั้งก้อนหมดนั่นเอง แม้ว่าการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงินไม่ใช่ธนาคารจะเข้าถึงได้ง่ายกว่าธนาคาร แต่สถาบันการเงินทั่วไปไม่ใช่ธนาคารเหล่านี้ก็จะต้องจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นกัน ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาหรือตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินที่ถูกต้องกฎหมายผ่านทาง www.bot.or.th ได้เลย